รายละเอียด:
เข็มกลัดพระตรีมูรติ
ทำจากโลหะผสม ตัวเรือนชุบด้วย ประดับด้วยพลอยสีแดง และคริสตัลหลายขนาด (ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มม. ขนาดกลาง 2 มม. ขนาดเล็ก 1 มม.) ส่องแสงประกายแวววับ
ด้านหน้าแกะสลักได้อย่างประณีตงดงาม อ่อนช้อยด้วยลายเส้นแบบไทยๆ ด้านหลังตัวเรือนมี 2 ข้อห่วง คือ ข้อห่วงสำหรับใช้คล้องสายสร้อย และข้อห่วง (เก็บปลายเข็ม) สำหรับใช้กลัดเสื้อผ้า
สามารถใช้เป็นเครื่องประดับ หรือใช้เป็นวัตถุมงคลสำหรับบูชา หรือเป็นของที่ระลึก หรือเป็นของสะสม เพราะมีความหมายที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้ครอบครอง พระตรีมูรติเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ช่วยเสริมให้สมหวังในด้านความรัก ความผาสุข ความสำเร็จ ความสมหวังทุกประการ
จัดแต่งในกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำฝากล่องเป็นกระจก ภายในบุด้วยกำมะหยี่สีแดง (กล่องขนาด กว้าง 8 ซม. X ยาว 8 ซม. X สูง 3 ซม.) ผูกโบว์สีทองสวยงาม พร้อมบทสวดบูชา เหมาะสำหรับเป็นขอขวัญ ของที่ระลึกผู้ใหญ่ วิทยากร และชาวต่างชาติ
วิธีการเก็บรักษา
เพื่อให้ตัวเรือนสีทองอยู่คงนาน ควรหลีกเลี่ยงน้ำหอม สเปรย์ เครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม และเหงื่อไคล หากหลีกเลี่ยงไม่ได้หลังจากเลิกใช้งานแล้ว ควรรีบชำระล้างด้วยน้ำเปล่าและเช็ดให้แห้งก่อนเก็บลงในกล่อง หรือถุงซิป จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานถึง 2 ปี
ประวัติพระตรีมูรติ *
พระตรีมูรติ คือ อวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาพราหมณ์ อันได้แก่ พระพรหม (ผู้สร้าง) พระนารายณ์ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระอิศวร (ผู้ทำลาย) โดยพระตรีมูรตินั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ยุคใหม่ รูปเคารพของพระตรีมูรติจึงเป็นการรวมเข้าด้วยกันของเทวลักษณะของสามมหาเทพ คือรูปทรงประทับยืนมีสามเศียร คือเศียรกลางเป็นพระพรหม เศียรขวาและองค์เป็นพระวิษณุ เศียรซ้ายและยอดเป็นพระศิวะ
การบูชาองค์พระตรีมูรติ จึงเปรียบเสมือนบูชาสามมหาเทพสูงสุด ซึ่งเทพทั้งสามเป็นผู้บันดาลความเป็นไปของมวลมนุษย์ในโลก ตั้งแต่องค์พรหมผู้ให้กำเนิดกำหนดชีวิตแต่ละคนขึ้นมาเช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่าคนเราเกิดมาจาก“พรหมลิขิต”
คำสวดบูชาเทพตรีมูรติที่คนทั่วโลกรู้จักกันดี คือ คำว่า “ โอม ” ซึ่งมีที่มาจาก “ มะ ” แทน องค์พรหม, “ อะ” แทน องค์วิษณุ , “ อุ ” แทน องค์ศิวะ
การเอ่ยคำว่า “โอม” จึงเท่ากับเป็นการเอ่ยนามของเทพทั้งสาม ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ได้รับพรอันประเสริฐจากเทพเจ้าซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “โอมเพี้ยง” ในความหมายของการอธิษฐานขอให้เทพเจ้าทั้งสามบันดาลให้สิ่งที่ปรารถนาเป็นจริงยามใดที่เราอยากให้ความฝันเป็นจริง เรามักอธิษฐานจนติดปากว่า “ โอมเพี้ยง...ขอให้ ( คำขอพร) ” ดังนั้นเราจึงมีองค์ศิวะ องค์พรหมองค์วิษณุนารายณ์ระลึกอยู่ในจิตใจตลอดเวลา
ความศรัทธาใน “ตรีมูรติ” ได้สืบทอดผ่าน ยุคผ่านสมัย ทั้งในอินเดีย เขมร พม่า ลาว และไทย ได้รับการเทิดทูนจนกลาย เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการประทานความรัก และความสมหวัง
การบูชาพระตรีมูรติเพื่อขอพรความรักนั้น เครื่องบูชาควรจะเป็นดอกกุหลาบสีแดง ๙ ดอก เนื่องจากเป็น สัญลักษณ์แห่งความรัก หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นสัญลักษณ์ของโลกียะ ความเป็นมงคลและพลังชีวิต หรือจะเป็นพวงมาลัยดอกกุหลาบ ๑ พวง พร้อมกันนี้ต้องมีธูปสีแดงอีกจำนวน ๙ ดอก และเทียนสีแดง ๑ เล่ม หรือ ๑ คู่ ซึ่งหากเป็นเทียน ๑ คู่นั้น กรณีสำหรับผู้ที่มีคู่อยู่แล้ว จะถือเคล็ดด้วยการต้องประกบให้เทียนทั้ง ๒ เล่ม แนบชิดกัน เพื่อความแนบแน่น ในชีวิตรัก แต่หากใครยังไม่มีคู่อาจสื่อความหมายไปที่ว่าเพื่อไม่ให้ชีวิตรักโดดเดี่ยวมีคู่โดยเร็ว
เพื่อให้คำขอประสบความสำเร็จ ควรบูชาพระพิฆเนศวรก่อน แล้วจึงไหว้พระตรีมูรติ เพราะในศาสนาฮินดูมีบัญญัติหนึ่งซึ่งเป็นศิวะโองการว่า ให้พระพิฆเนศวรเป็นเทพองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีกรรมใดๆ ทั้งนี้ เพื่อให้พระพิฆเนศวรช่วยขจัดอุปสรรค และอำนวยความสำเร็จให้ราบรื่นสมดังหวังที่ประสงค์ไว้ทุกประการ
บทสวดบูชา
บทสรรเสริญพระตรีมูรติ
พาลา รกปรภมินทรนีลชฎิล ภสมางคราโคชวลศานต
นทวิลีนจิตตปวน ศารทูลจรมามพรม พรหมชไชญะ สนกาทิภิะ
ปริวฤต สิทไธะ สมาราธิตม อาเตรย สมุปาสมเห หฤทิมุท เทยย
สทา โยคิภะ
คาถาบูชา
โอม ทัตตาเตรโยวิชยเตตราม
บทสวดขอพรพระตรีมูรติ
สาธุ สาธุ สาธุ อุกาสะ ข้าแต่องค์พระตรีมูรติที่ยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้า นาย,นาง....... (บอกชื่อ นามสกุลและที่อยู่)
กราบเบื้องบาทแด่องค์ท่านแล้ว พระองค์เคยประทานพรแด่ทวยเทพทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้ามากราบเบื้องบาทแด่พระองค์ท่านแล้ว จึงขอพรจากพระองค์ซึ่งประทานไว้ ณ บัดนี้ (.....ขอพร....)
เตสัง อัมหากัง พรใดอันประเสริฐจงมาบังเกิดแด่ข้าพเจ้า
ทีฆายุกา มหาเดชา มหาปัญญา มหาโภคา มหายะสา
มหาลาภา ปัญจวีสติ ภยันตะ ทวัตติงสะ ฉันนะวุฒิโรคัญจะ
โสระสะ อุบัติอันตรายยัญจะ อัยยัญติกะ อันตรายยัญจะ พาหิระ
อันตรายยัญจะ วิระหิตะวา โหตุ ยาวะชีวัง พระวิสตีติ (พระตรีมูรติ)
หมายเหตุ * ประวัติความเป็นมา ในที่นี้ได้รวบรวมมาจากหลายแห่ง (ซึ่งให้ข้อมูลตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง) เพื่อย่อความและปรับแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมเนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย